วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แคล็มป์ (Clamp)

แคล็มป์ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการจับชิ้นงานขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน นอกจากนี้แคล็มป์ยังมีรูปร่างหลายแบบหลายชนิด มีดังนี้

1. ซีแคล็มป์ เป็นรูปร่างลักษณะรูปตัว C เป็นอุปกรณ์ที่สามารถยึดติดได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน มีความแข็งแรง คงทน โดยทั่วไปจะมีมือหมุนเป็นแบบแขนเลื่อน และสามารถปรับตำแหน่งได้ด้วยตัวเอง

ภาพที่ 1 ซีแคล็มป์
2. แคล็มป์ขนาน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับช่วยในการจับยึดชิ้นงาน ส่วนสกรูที่ใช้ยึดมี 2 ตัว ตัวแรกใช้สำหรับให้ปากกว้างหรือแคบลง  อีกตัวจะช่วยยันให้ปากของแคล็มป์ขนานกัน

3. แคล็มป์ข้อศอก ใช้ในการจับยึดโลหะแผ่น โดยในลักษณะควรกดให้แนบกับกระดานไม้

ภาพที่ 2 แคล็มป์ข้อศอก
4. แคล็มป์ขั้นบันได เป็นแคล็มป์ที่แข็งแรง ใช้ในการจับยึดชิ้นงาน และสามารถปรับระดับความสูงของขั้นบันไดได้ด้วยตนเอง เหมาะกับงานในการเจาะ

ภาพที่ 3 แคล็มป์ขั้นบันได
5. แคล็มป์สกรู ออกแบบมาเพื่อการเจาะอุปกรณ์และจับยึดอุปกรณ์โดยตรง

6. แคล็มป์ลูกเบี้ยว เป็นแคล็มป์ที่มีประสิทธิภาพสามารถจับชิ้นงานหรืออุปกรณ์ได้อย่างรวดเร็วและแข็งแรง ทนทาน

7. วีบล็อก ใช้สำหรับจับชิ้นงานหรือล็อคเหมาะกับงานชิ้นแท่งกลม และงานเจาะได้ดี

ปากกาจับชิ้นงาน (Bench Vise)

ปากกาจับชิ้นงาน หรือเรียกสั้น ๆ ว่าปากกาจับงาน เป็นเครื่องมือสำหรับประกอบงาน มีความแข็งแรง คงทน โดยใช้ บีบ, ยึด และจับ เป็นต้น ปากกาจับชิ้นงานมีหลายรูปแบบเรียกตามรูปร่างลักษณะการใช้งาน เช่น

1. ปากกาจับโลหะ เป็นปากกาสำหรับจับยึดแผ่นโลหะเพื่อ ตอก, เจาะ และขัด เป็นต้น นอกจากนี้ปากกาจับโลหะยังเป็นปากกาที่มีความลาดเอียงและสูงขึ้นจากตัวปากกาของปากกามากกว่าปากกาชนิดอื่น
ภาพที่ 1 ปากกาจับโลหะ
2. ปากกาช่างกล มีความแข็งแรง สามารถทำงานหนักได้ดีปากกาจะมีอยู่ 2 ด้าน ด้านแรกเป็นปากกาอยู่กับที่ อีกด้านจะเลื่อนได้โดยใช้เกลียว
ภาพที่ 2 ปากกาช่างกล
3. ปากกาจับไม้ ใช้สำหรับจับชิ้นงานไม้ สามารถอัดชิ้นงานเข้าชิดกันได้เหมาะกับงานชิ้นเล็ก และเป็นปากกาที่มี 2 ส่วนเป็นไม้ โดยใช้เกลียวน็อตใหญ่

4. ปากกาหัวโต๊ะ เป็นปากกาหัวโต๊ะหน้ากว้าง ส่วนการใช้งานจะยึดติดอยู่ด้านข้างหัวโต๊ะใช้งาน สำหรับจับชิ้นงานไม้
ภาพที่ 3 ปากกาหัวโต๊ะ
5. ปากกาจับไม้ติดโต๊ะ เป็นปากกาจับไม้เวลาอัดหรือตัดอุปกรณ์ โดยจะยึดติดกับโต๊ะ

6. ปากกาแม่แรงอัดไม้ ใช้สำหรับในการอัดไม้ อัดพื้น อัดไม้แผ่น ฯลฯ
ภาพที่ 4 ปากกาแม่แรงอัดไม้
การบำรุงรักษาปากกาจับชิ้นงาน

- เมื่อเลิกใช้งานควรเลื่อนปากกาเข้าหากันทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ

- ทำความสะอาดทุกชิ้นทุกส่วนให้สะอาด เสร็จแล้วควรชโลมน้ำมันเพื่อกันสนิมและทาจารบีที่เกลียว
หมุนของปากกาจับชิ้นงานให้ชุ่มทุกครั้ง

- ไม่ควรใช้ปากการองรับเหล็ก เพราะจะทำให้ปากกาแตกหัก